ในช่วงเริ่มต้นของการก่อสร้าง เช่นตั้งแต่การทำฐากราก ทางเจ้าของบ้านจะต้องทำการขออนุญาตใช้น้ำ-ไฟชั่วคราว เพื่อให้การก่อสร้างสามารถใช้น้ำ ใช้ไฟในการก่อสร้างได้ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก การประปานครหลวง โทร. 1125, การประปาส่วนภูมิภาค โทร. 1662
การขออนุญาตใช้น้ำประปาชั่วคราว
จะเป็นการขอใช้น้ำในการก่อสร้าง โดยจะต้องทำการติดต่อการประปานครหลวงหรือการประปาส่วนภูมิภาค ใกล้บ้านท่าน แล้วแจ้งขออนุญาตใช้น้ำประปาชั่วคราวในการก่อสร้าง เอกสารที่ใช้ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ยื่นคำร้อง
- สำเนาแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครอง อย่างเช่น หนังสืออนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือ โฉนดที่ดิน และหนังสือยินยอมจากเจ้าของ
- หนังสือรับมอบอำนาจฉบับจริง ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีที่ให้ผู้อื่นดำเนินการให้)
- แผนที่แสดง ตำแหน่งสถานที่ ที่จะขออนุญาตใช้น้ำประปาชั่วคราว (ถ้ามี)
สามารถดูคู่มือการขออนุญาตติดตั้งประปาแบบชั่วคราวได้ที่นี่ :
คู่มือสำหรับประชาชน การขอติดตั้งประปาแบบชั่วคราว
สามารถดูตัวอย่างแบบคำขอใช้น้ำประปาชั่วคราวได้ที่นี่ :
สามารถดูอัตราค่าธรรมเนียมของการประปาส่วนภูมิภาคได้ที่นี่ :
การขออนุญาตใช้ไฟฟ้าชั่วคราว
ในกรณีนี้เราจะขออนุญาตใช้ไฟฟ้าชั่วคราวโดยการของมิเตอร์ไฟชั่วคราว สำหรับการก่อสร้างโดยที่ยังไม่มีบ้านเลขที่ การขออนุญาตสำหรับใช้ไฟฟ้าชั่วคราวในการก่อสร้าง อย่างเช่นบ้านน็อคดาวน์ของเรา มีเอกสารและสิ่งที่ต้องเตรียมดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ยื่นคำร้อง
- สำเนาแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครอง อย่างเช่น หนังสืออนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือ โฉนดที่ดิน และหนังสือยินยอมจากเจ้าของ
- หนังสือรับมอบอำนาจฉบับจริง ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีที่ให้ผู้อื่นดำเนินการให้ อย่างเช่นผู้รับเหมา)
- ถ้ายังไม่มีหนังสือ ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนการขออนุญาตก็อาจจะใช้สำเนาคำร้องขออนุญาตก่อสร้างแทนก่อนได้
- ผู้รับเหมาจะต้อง คำนวณโหลดที่จะใช้ เตรียมอุปกรณ์ และระบบไฟฟ้าให้เรียบร้อย เพื่อรองรับตามขนาดมิเตอร์ที่ทำการขอ (เช่น ขนาดเบรกเกอร์ และขนาดสายไฟ ตามมาตราฐานการไฟฟ้า)
- แผนที่แสดง ตำแหน่งสถานที่ ที่จะขออนุญาตใช้ไฟฟ้าชั่วคราว (ถ้ามี)
หลังจากที่ได้เลขที่บ้าน สำเนาทะเบียนบ้านเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถที่จะนำไปขอมิเตอร์น้ำถาวรจากการประปานครหลวง หรือการประปาส่วนภูมิภาค และทำการขอมิเตอร์ไฟฟ้าถาวรจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือการไฟฟ้านครหลวงแล้วแต่พื้นที่ ส่วนจะเตรียมอะไร มีค่าใช้จ่ายยังไงบ้าง มาดูวิธีการกันครับ
ขอมิเตอร์น้ำประปา ที่เปลี่ยนจากมิเตอร์ชั่วคราวมาเป็นแบบถาวร
จะเป็นลักษณะคล้ายกับการขออนุญาตแบบชั่วคราวแต่จะต้องมีเอกสารเพิ่มอย่างเช่นสำเนาทะเบียนบ้านเพิ่มขึ้นมา มาดูว่าต้องเตรียมอะไรกันบ้าง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ยื่นคำร้อง
- สำเนาทะเบียนบ้าน ของอาคารใหม่ที่จะติดตั้งน้ำประปา
- สำเนาใบขออนุญาติก่อสร้าง
- ใบเสร็จเงินประกันการใช้น้ำประปา และใบเสร็จค่าน้ำประปา(ที่จ่ายตอนใช้แบบชั่วคราว)
- หนังสือรับมอบอำนาจฉบับจริง ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีที่ให้ผู้อื่นดำเนินการให้)
- แผนที่แสดง ตำแหน่งสถานที่ ที่จะขออนุญาตใช้น้ำประปา (ถ้ามี)
เมื่อคำร้องขออนุญาตได้รับการอนุมัติแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขออนุญาตเข้ามาชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ และรับเงินประกันคืน และหลังจากนั้น ทางการประปาในพื้นที่จะไปดำเนินการแก้ไขมิเตอร์น้ำให้สำหรับใช้น้ำประปาแบบถาวรให้ต่อไป ถ้าอยู่ในเขตแนวท่อน้ำประปาก็ไม่ต้องขออนุญาตขยายเขตการใช้น้ำประปาเพิ่มเติม
สามารถดูคู่มือการขออนุญาตติดตั้งประปาแบบถาวรได้ที่นี่ :
คู่มือสำหรับประชาชน การขอติดตั้งประปาแบบถาวร
สามารถดูค่าใช้จ่ายในการขอมิเตอร์ประปาแบบถาวรได้ที่นี่ :
ขอมิเตอร์ไฟ
การขอมิเตอร์ไฟฟ้าถาวรสำหรับบ้านน็อคดาวน์ เราจะต้องเตรียมตัวดังนี้ คือ จะต้องเดินสายเมนไฟฟ้าจากตัวบ้าน/อาคาร มาจนถึงเสาไฟฟ้า และปล่อยปลายสายจนถึงระดับที่ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าไว้ จากนั้นให้เตรียมเอกสารดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านปัจจุบัน ของผู้ยื่นคำร้อง
- ทะเบียนบ้าน ของบ้านน๊อคดาวน์ที่ได้รับจากอำเภอแล้ว
- หนังสือรับมอบอำนาจฉบับจริง ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีที่ให้ผู้อื่นดำเนินการให้ อย่างเช่นผู้รับเหมา)
- เอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
- แผนที่แสดง แผนผังสังเขปของสถานที่ ที่จะขออนุญาตใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
เมื่อเตรียมเอกสารเสร็จแล้วจากนั้นเข้าไปเขียนคำร้องขอใช้ไฟฟ้า และนัดวันให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบระบบสายไฟภายในบ้าน หลังจากที่อนุมัติแล้วให้ทำการจ่ายค่าธรรมเนียม(หรือจ่ายก่อนแล้วแต่กรณี) ทางการไฟฟ้าจะทำการติดมิเตอร์ให้ขนาดตามที่ร้องขอ
หากยังไม่มีระบบจำหน่ายตามระบบแรงดันที่ขอใช้ไฟฟ้าเข้าถึงสถานที่ใช้ไฟฟ้า จะต้องมีการขอขยายเขต และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้เมื่อได้รับชำระค่าบริการวางหลักประกันการใช้ไฟฟ้าครบถ้วนตามอัตราที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือการไฟฟ้านครหลวงกำหนด และลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ตามช่องทางที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือการไฟฟ้านครหลวงกำหนดตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ประกาศใช้ในปัจจุบันต่อไป
สามารถดูคู่มือการขออนุญาตใช้ไฟฟ้าแบบถาวรได้ที่นี่ :
เงื่อนไขการขอใช้ไฟฟ้าและเอกสารประกอบการขอใช้ไฟฟ้า
สามารถดูค่าใช้จ่ายในการขอใช้ไฟฟ้าแบบถาวรได้ที่นี่ :
ตารางค่าธรรมเนียมการขอใช้ไฟฟ้า
และเดี๋ยวนี้สามารถยื่นขอใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา ผ่านอินเตอร์เน็ต (e-Service) ได้แล้ว มีความสะดวกมากๆ สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ :
สรุปการขออนุญาตใช้น้ำ-ไฟชั่วคราว
การขออนุญาตใช้น้ำและไฟชั่วคราว ในขณะการก่อสร้าง เป็นสิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนแรกๆ หลังจากที่ได้มีการยื่นขออนุญาตก่อสร้างแล้ว เพราะเรามีความจำเป็นต้องใช้น้ำและใช้ไฟชั่วคราวในการก่อสร้างก่อน และเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว แล้วก็ทำการ ขอบ้านเลขที่ แล้วก็ค่อยมาขอน้ำไฟแบบถาวรอีกที เป็นอันจบกระบวนการขออนุญาตต่างๆ สำหรับการสร้างบ้านน็อคดาวน์ของเราครับ