ทำไมต้องเลือก บ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้น? วันนี้เราจะมีหาคำตอบกันครับ เมื่อบ้านคือวิมานของเรา การมีบ้านสักหลังที่สร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราขึ้นมานั้น ก็จะต้องใช้ทั้งเงินและเวลา สำหรับคนที่ต้องการซื้อเวลาก็อาจจะพิจารณาการสร้างบ้านแบบกึ่งสำเร็จรูปหรือบ้านน็อคดาวน์นั่นเอง ขึ้นชื่อเรื่องความเร็วในการก่อสร้างก็คือบ้านน็อคดาวนนี่แหละครับ
บ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้นมีข้อดีอย่างไร?
เมื่อเวลามีจำกัด ต้องการใช้งานด่วน ไม่อยากเสียเวลาคุมช่างเอง ไหนจะเศษวัสดุสกปรกเลอะเทอะพื้นที่แถมต้องมีแคมปืคนงานในพื้นที่อีก ดูวุ่นวายไปหมด ดังนั้นเราจึงได้เห็นครอบครัวยุคใหม่ที่หันมาสนใจสร้างบ้านน็อคดาวน์กันมากขึ้น บวกกับเทคโนโลยีวัสดุและการออกแบบที่เปลี่ยนไปมาก ทำให้ได้บ้านน็อคดาวน์ที่ทั้งสวยและแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆพร้อมทั้งฟักง์ชั่นการใช้งานแทบไม่ต่างจากบ้านปูนปกติทั่วไปเท่าไหร่นัก จะเป็นการดีเสียอีกที่สามารถควบคุมงบไม่ให้บานปลายและได้บ้านที่เร็วกว่าแต่ก่อนมาก
วันนี้ทางบริษัทพาร์เซอร์วิสฯจะมาแนะนำวิธีการเลือกบ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้น ที่เหมาะสมกับครอบครัวของเราโดยอาจจะต้องมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมจากเนื้อหาในบทความ “บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว” สามารถย้อนกลับไปอ่านได้ครับ โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มมีดังนี้
- พื้นที่ที่จะปลูกบ้าน มีขนาดเท่าไหร่ รูปทรงพื้นที่เป็นแบบไหน ตำแหน่งที่จะวางบ้านอยู่จุดใด ส่วนนี้เอานำไปกำหนดเรื่องช่องแสง หน้าต่าง ชานพัก หรือผนังของตัวบ้านในแต่ละทิศให้เหมาะสมตาม พรบ.ก่อสร้างอาคารนั่นเองครับ
- เตรียมพื้นที่ส่วนต่อขยายไว้ล่วงหน้าเลย อย่างเช่นคนที่คิดจะมีลูกหรือมีสมาชิกเพิ่มในครอบครัวก็จะต้องออกแบบจำนวนห้องที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ที่มีอยู่เท่าเดิมโดยการขยายเพิ่มมายังชั้น 2
- เนื่องจากบ้าน 2 ชั้นจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ทางวิศกรจะต้องคำนวนฐานรากและออกแบบผนังให้สามารถรับแรง/น้ำหนักที่กดลงบนคานเหล็กและเสาให้เหมาะสม
- อยากให้พื้นบ้านยกสูงหรือยกต่ำ ในกรณีนี้ ถ้ามีการยกสูงเราจะสามารถใช้ประโยชน์จากใต้ถุนสูงนี้ได้ เช่นสามารถใช้เป็นที่จอดรถ หรือวางโต๊ะวางแคร่สำหรับทำกิจกรรมในครอบครัวร่วมกันได้
บ้านน็อคดาวน์สองชั้น มีลักษณะเป็นอย่างไร?
ถ้าพูดตามหลักการโครงสร้างของบ้านน็อคดาวน์แล้ว หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ว่าโครงสร้างบ้านน็อคดาวน์เป็นอย่างไร ไม่ใช่แค่การนำเอาเหล็กไปตัดแล้วเชื่อมโครงแบบเฟอร์นิเจอร์ แต่บ้านน็อคดาวน์จะถูกออกแบบและสร้างเป็นยูนิต (Unit) เป็นกล่องๆ จากโรงงาน แล้วนำไปประกอบวางซ้อนและยึดติดกันที่พื้นที่หน้างาน โดยวิศวกรจะต้องคำนวนการรับแรงแต่ละยูนิตโดยเฉพาะผนังชั้นล่าง เพื่อให้เป็นไปตามหลักการทางวิศวกรรมทำให้บ้านแข็งแรงปลอดภัย
การขออนุญาตก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้น มีอะไรที่ต้องเตรียมเป็นพิเศษหรือไม่?
ในการขออนุญาตก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้นนั้น ไม่แตกต่างจากการขออนุญาติบ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียวเลย เหมือนกันเลยครับ สิ่งสำคัญสุดก็จะเป็นเรื่องของแบบแปลนบ้านจากสถาปนิกและรายการคำนวณของวิศวกร รายละเอียดจะต้องครบถ้วนเพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่ของทาง เทศบาล เขต หรือ อบต. พิจารณาอนุมัติการก่อสร้างนั่นเองครับ
การเตรียมพร้อมระบบฐานรากสำหรับบ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้น
เนื่องจากบ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้นจะมีน้ำหนักมากกว่าบ้านน็อคดาน์ชั้นเดียวการคำนวณภาระโหลดที่จะถ่ายลงสู่ฐานรากนั้นก็จะต้องคำนวณให้ดีโดยอ้างอิงจากการทดสอบการรับแรงของดิน(Soil Test) หรือสอบถามทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ว่าในพื้นที่นั้นๆใช้การทำฐานรากแผ่หรือตอกเสาเข็ม และผู้ออกแบบ(สถาปนิก/วิศวกร) จะต้องมีการกำหนดไว้ในแบบก่อสร้างว่าสามารถรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยได้ย่างน้อยกี่ตัน/ต้น(เพราะชั้นดินในแต่ละพื้นที่ในประเทศไทยแตกต่างกัน) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบทำฐานรากต่อไป
ถ้าถามว่าพื้นที่เป็นดินแข็งดินภูเขาจะทำฐานรากบ้านแบบเจาะเข็มได้หรือไม่ ตอบได้เช่นเดิมว่า ต้องทำการทดสอบดิน(Soil Test) หรือสอบถามหน่วยงานในพื้นที่เช่นกัน(คำตอบจะมากับความรับผิดชอบทางด้านวิชาชีพ ดังนั้นจะต้องมีการคำนวนและทดสอบตามหลักวิศวกรรม) ไม่ว่าจะเป็นบ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียวหรือ 2 ชั้นก็จะต้องดูแบบที่กำหนดว่าการรับน้ำหนักของแต่ละเสาเทียบกับความสามารถองชั้นดินที่สามารถรับโหลดแบบปลอดภัยตามนั้น
บ้านสำเร็จรูป บ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้น ของ PARHOME
มาลองดูบ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้นที่ทางบริษัทพาร์เซอร์วิสฯได้มีการออกแบบก่อสร้างให้กับลูกค้ากันครับ จะเห็นได้ว่ามีหลากหลายรูปแบบเลย ส่วนมากลูกค้าจะมีความต้องการหรือแบบบ้านอยู่ในใจอยู่แล้ว ทำให้ได้บ้านที่ออกแบบก่อสร้างมาถูกใจเจ้าของบ้านทุกหลัง สามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มติมได้ที่ลิ้งค์จากรูปเลยครับ
สรุป ใครที่ต้องการบ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้นบ้าง?
บ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้นจะเหมาะกับครอบครัวที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยในบ้านมากกว่าปกติโดยที่ใช้ที่ดินในการก่อสร้างเท่ากับบ้านชั้นเดียว อาจจะเพิ่มพื้นที่ให้เพียงพอกับคนในบ้าน หรือเพิ่มพื้นที่พิเศษทำให้ใช้สอยได้มากขึ้นอย่างการแยกห้องนอนไปใช้ชั้นสองทำให้ได้พื้นที่ส่วนกลางชั้นล่างเพิ่มมากขึ้น และถ้ามีการยกพื้นบ้านสูงขึ้นไปอีกก็จะได้พื้นที่ใต้ถุนบ้านเพิ่มเข้ามา สามารถใช้จอดรถหรือทำห้องครัวหรือห้องเก็บของด้านล่างได้อีก
ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดสนใจอยากสร้างบ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้น สามารถไลน์เข้ามาปรึกษาคุยรายละเอียดแบบบ้านพร้อมกับการประเมิณราคาและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับงบประมาณได้เลยนะครับ ทางทีมงานบ้านน็อคดาวน์ของบริษัทพาร์เซอร์วิสฯยินดีให้บริการครับ
แบบบ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้นที่คล้ายกัน
พรีวิวบ้านน็อคดาวน์โมเดิร์น 2 ชั้น รุ่น M8 ติดตั้งที่ จ.สระบุรี
พรีวิวบ้านน็อคดาวน์ทรงโมเดิร์น 2 ชั้น รุ่น M10 ติดตั้งที่ กทม.
บ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้น ทรงโมเดิร์น รุ่น M20 ติดตั้งที่ จ.นครนายก
พรีวิวบ้านน็อคดาวน์ทรงนอร์ดิกมีชั้นลอย ขนาด 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ติดตั้งที่ จ.สุพรรณบุรี