ถ้าให้ตอบกระชับๆ สามารถบอกได้เลยว่า การปลูกสร้างอาคารทุกชนิดจำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้างกับหน่วยงานในท้องที่ ตามกฎหมาย พรบ.ก่อสร้างอาคาร ไม่ว่าจะเป็นอาคารน็อคดาวน์ เป็นกระต๊อบ เพิงหมาแหงน หรือว่าอาคารลักษณะชั่วคราวอย่างบ้านกึ่งน็อคดาวน์ก็ตาม เหตุผลเพราะ ถ้าสมมุติตัวโครงสร้างอาคารไม่แข็งแรง ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ไม่ปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย หรือ สามารถเป็นอันตรายต่อ บุคคลหรือพื้นที่ข้างเคียงได้ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการขออนุญาตในการก่อสร้าง เพื่อให้สำนักงานโยธาได้ตรวจสอบแบบ แต่ถ้าเป็นอาคารเล็กๆ สำหรับเก็บของอย่างเช่น ห้องเก็บของ เก็บอุปกรณ์ทำสวนเล็กๆข้างบ้าน ที่ไม่ได้มีน้ำหนักเยอะแล้วไม่มีคนอยู่อาศัยตลอดเวลา ก็อาจจะลองเข้าไปปรึกษากับหน่วยงานในพื้นที่ดู

ขออนุญาตก่อสร้าง

แต่ถ้าเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างบ้านที่อยู่อาศัย หรือ ใช้เปิดกิจการร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ก็จะต้องขออนุญาต เพราะเราต้องการเลขที่บ้าน เพื่อให้ใช้สาธารณูปโภคต่างๆได้ สามารถไปขอมิเตอร์น้ำ ขอมิเตอร์ไฟฟ้า ขอติดตั้งอินเตอร์เน็ต เป็นที่อยู่ถาวรสำหรับส่งเอกสารต่างๆ

จะสร้างบ้านน็อคดาวน์สักหลัง ทำไมต้องขออนุญาต? ขออนุญาตใครบ้าง?

การขออนุญาตก่อสร้างอาคารอยู่ภายใต้กฎหมายสิ่งปลูกสร้าง เป็นสิ่งที่ต้องขออนุญาต โดยจะต้องติดต่อหน่วยงานในพื้นที่แม้ว่าจะเป็น สำนักงานเทศบาล สำนักงานเขต หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.), กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, หน่วยงานสาธารณสุข เป็นต้น

ขั้นตอนในการดำเนินการขออนุญาตต่างๆ

  • ติดต่อ อบต., เทศบาล, สำนักงานเขต เพื่อขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
  • เมื่อได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงาน อบต., เทศบาล, สำนักงานเขต เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จ
  • ติดต่อผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน เพื่อที่จะแจ้งขออนุญาต ให้ออกเลขที่บ้าน/อาคาร (ขอเอกสาร ท.ร.9)
  • แจ้งขอ ใบรับรองห้องสุขา(ห้องส้วม) จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล หรือหน่วยงานสาธารณสุขระดับตำบลที่เกี่ยวข้อง
  • เตรียมเอกสารเพื่อยื่นคำขอ บอกเลขที่บ้านใหม่ ที่สำนักงานทะเบียนอำเภอ เพื่อขอรับสำเนาทะเบียนบ้าน

การขออนุญาตก่อสร้าง

ไปติดต่อกับหน่วนงานที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาตก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์ของเราจะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือสำนักงานเทศบาล หรือสำนักงานเขต ตามแต่ละพื้นที่

  • แบบฟอร์มขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (สามารถขอได้จาก อบต. ในพื้นที่ที่จะก่อสร้าง)
  • แบบแปลนบ้านที่ขออนุญาต หรือแปลนพื้น และผังบริเวณ จํานวน 2 ชุด
  • สําเนาทะเบียนบ้าน สําเนาบัตรประชาชน ของผู้ขออนุญาต
  • สำเนาโฉนดที่ดิน, น.ส. 3ก. ถ่ายเอกสารเท่ากับต้นฉบับทุกหน้า ห้ามถ่ายย่อ พร้อมเจ้าที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า ถ้าที่ดินที่สร้างบ้านเป็นของบุคคลอื่น ต้องมีหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน หรือสัญญาเช่าที่ดิน พร้อมด้วยสําเนาทะเบียนบ้าน และสําเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน
  • หนังสือยินยอมชิดเขตที่ดินต่างเจ้าของ (ถ้ามี)
  • หากที่ดินที่สร้างบ้านติดจํานองกับธนาคาร สหกรณ์ ต้องขอหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดินที่ติดจํานองจากหน่วยงานนั้น ๆ
  • ถ้าเจ้าของบ้านให้บุคคลอื่นดําเนินเรื่องให้ต้องมีหนังสือมอบอํานาจ พร้อมสําเนาทะเบียนบ้าน และสําเนาบัตรประชาชน ทั้งของผู้มอบ และผู้รับมอบ
  • สําหรับบ้านที่มีเนื้อที่ใช้สอยเกิน 150 ตารางเมตร ต้องยืนแบบแปลน, รายการคํานวณราคาของวิศวกร, สําเนาใบประกอบวิชาชีพของสถาปนิก และวิศวกรผู้ออกแบบ, หนังสือยินยอมของผู้ควบคุมงาน พร้อมสําเนาใบประกอบวิชาชีพของผู้ควบคุมงาน
  • สําหรับบ้านทีมีเนือทีใช้สอยไม่เกิน 150 ตารางเมตร ให้แนบเฉพาะแผนทีสังเขป ผังบริเวณ และแปลนพื้น

หมายเหตุ : เราจะเป็นต้องเข้าไปพูดคุยสอบถามกับเจ้าหน้าที่ที่หน่วยงานเพื่อขออนุญาตก่อสร้างอีกที เพราะอาจจะมีข้อกำหนดต่างๆ แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่

กรณีที่ยังไม่ได้รับ อนุญาตให้ก่อสร้างได้ เนื่องจากอาจจะมีการแก้ไข การคำนวณหรือรายละเอียดต่างๆในแบบแปลนให้ครบถ้วน และให้ทำการยื่นขออนุญาตก่อสร้างหลังแก้ไขเอกสารอีกครั้ง ละเมอได้รับเอกสารอนุญาตให้ก่อสร้างได้แล้วก็ให้ทำการถ่ายสำเนาเก็บไว้ ทั้งที่ตัวเอง วิศวกร สถาปนิก และผู้รับเหมาก่อสร้าง

ติดต่อขอรับหนังสือรับรองจากผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน

หลังจากที่เราสร้างบ้านเสร็จแล้ว ให้เราทำการ ถ่ายรูปบ้าน ทั้งสี่มุม และก็ข้อมูลโฉนดต่างๆ ช่องไปติดต่อ ผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันในพื้นที่ เพื่อที่จะขอรับหนังสือรับรอง ว่าบ้านหลังนี้ มีอยู่ในพื้นที่จริง สำหรับนำไปใช้ขอเลขที่ประจำบ้านต่อไป

ข้อมูลที่เราจะต้องเตรียมไปด้วยคือ ชนิดของบ้านเป็นแบบใด เป็น บ้านไม้ ตึกเดี่ยว(บ้านปูน) ตึกแถว(ตึกปูน) ครึ่งตึกครึ่งไม้ หรือแบบอื่นๆ, ขนาดของตัวบ้าน (ความกว้างxความยาว) หน่วยเมตร, สำเนาโฉนดที่ดิน น.ส.3 และสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน, รอบบ้านติดกับบ้านที่เลขที่ไหนบ้าง, ปลูกสร้างเสร็จเมื่อใด, รูปห้องส้วม และ หนังสืออนุญาตก่อสร้างที่ได้จากเทศบาลหรือ อบต.

PDF Download PARSERVICE

หนังสือรับรองการขอเลขที่บ้านจากผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน

ตัวอย่างหนังสือรับรองจากผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันสำหรับการขอเลขที่บ้าน (ขอหมายเลขประจำบ้าน)

ติดต่อขอรับใบรับรองห้องส้วม

หลังจากที่ได้รับชุดเอกสารจาก อบต. หรือเทศบาลแล้ว และได้รับใบ ทร.9 จากผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันแล้ว ให้นำเอกสารสองชุดนี้ ไปที่ สาธารณสุขท้องที่หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เพื่อให้ รพ.สต. ออกเอกสารรับรองว่ามีห้องน้ำห้องส้วมในบ้านที่ถูกสุขลักษณะ

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับขอใบรับรองห้องส้วม ก็จะมี รูปถ่ายบริเวณห้องส้วม 2-4 รูป และ เอกสารขออนุญาติก่อสร้างและใบ ทร.9 สามารถดูตัวอย่างเอกสารใบรับรองได้จามลิ้งค็ข้างล่างนี้

PDF Download PARSERVICE

ใบรับรองการมีส้วม

ตัวอย่างใบรับรองห้องส้วมที่ได้จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล

การขอบ้านเลขที่ (เลขประจำอาคาร)

หลังจากที่เราได้เอกสารที่ อบต. ออกให้ และชุดใบ ทร.9 ที่ได้มาจากผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน รวมถึงเอกสารการรับรองห้องส้วม(ห้องน้ำ)แล้วนั้น ต่อไปจะเป็นการยื่นเอกสารขอเลขที่บ้านที่สำนักงานเขตอำเภอเมือง โดย สำนักงานเขตอำเภอเมืองจะเป็นผู้ออกเล่มสำเนาทะเบียนบ้านให้ โดยทำการ เตรียมเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ (และของผู้รับมอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจดำเนินการแทน)
  • สำเนาโฉนดที่ดิน นส.3 ขนาดเท่าฉบับจริง หรือหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือ การครอบครองที่ดินแปลงนั้น ๆ
  • หนังสือมอบอำนาจ ของเจ้าของที่ดินหรือเจ้าของอาคาร ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีที่มีการมอบอำนาจดำเนินการแทน)
  • ภาพถ่ายบ้าน หรือสิ่งก่อสร้างที่จะขอเลขที่บ้าน ที่ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และให้ผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน ลงลายมือชื่อรับรองว่าเป็นภาพถ่ายบ้านหรือสิ่งก่อสร้างที่จะขอเลขที่บ้านใหม่จริง
  • หนังสือรับแจ้งขอเลขที่บ้านใหม่ของกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน (ท.ร. 900) ที่บ้านหรือสิ่งก่อสร้างที่จะขอเลขที่บ้านตั้งอยู่
  • หนังสือรับรองการใช้ส้วม(สุขา)

สรุปการขออนุญาตสร้างบ้านน็อคดาวน์

จากที่เราได้ทำการขออนุญาตก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์เป็นสิ่งแรกหลังจากที่ได้ตกลงแบบบ้านและเตรียมเอกสารต่างๆเรียบร้อยแล้ว เราก็จะต้องขออนุญาตใช้ไฟและน้ำชั่วคราว จากนั้นก็ทำการก่อสร้าง ให้เสร็จ ต่อไปก็จะเป็นการ เลขที่บ้าน โดยจะต้องมีเอกสาร ที่ได้รับรองมาจากผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน และ หน่วนงานทางสาธารณสุขรับรองเรื่องการมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ทางอำเภอทำการออกเลขที่บ้าน และสำเนาทะเบียนบ้านให้ต่อไป

เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

การขออนุญาตน้ำ-ไฟชั่วคราว

การขอมิเตอร์น้ำ ขอมิเตอร์ไฟ สำหรับบ้านน็อคดาวน์

ฐานรากบ้านน็อคดาวน์

ทำความรู้จักกับฐานรากบ้านน็อคดาวน์

บ้านน็อคดาวน์แข็งแรงไหม

บ้านน็อคดาวน์อยู่ได้กี่ปี? ทนไหม? แข็งแรงไหม? ร้อนไหม? ดีไหม?